designed by nongnoy.net
 
   
 
 
 
 
 
 
             
 
 
         
     
         
         

ข่าวดีชั้นที่ 1 สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไปเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 1 แสนบาท (ตามกฎหมายเดิม)

 
ข่าวดีชั้นที่ 2 สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยสามารถเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีได้เพิ่มจาก 1 แสนบาทเป็น 3 แสนบาท ( ตามกฎหมายที่จะออกมาใหม่ )
 
ส่วนที่เพิ่มขึ้น 2 แสนบาทนั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อรวมกัน ดังนี้ :
   
1.
ต้องเป็นการทำประกันชีวิตแบบบำนาญเท่านั้น
2.
ต้องไม่เกิน 15 % ของเงินได้พึงประเมิน
3.
ต้องไม่เกิน 5 แสนบาทเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนประเภทเดียวกันอื่น ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( RMF)
         

ประกันชีวิตแบบบำนาญ ( ANNUITY ) จะต่างจากประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่เราคุ้นเคยกัน เพราะประกันชีวิตแบบบำนาญจะเป็นการประกันว่า เราจะมีรายได้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่เกษียณอายุแล้ว ซึ่งสรุปได้ว่า :

   
1.
ในช่วงแรกเราจะเป็นคนจ่ายเบี้ยประกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า “ ช่วงก่อนรับเงินบำนาญ ” โดยในช่วงนี้เราจะไม่ได้รับผลตอบแทนอะไรไปจนถึงวันที่เกษียณอายุจะเรียกว่า “ ช่วงรับเงินบำนาญ ” บริษัทประกันจะจ่ายเป็นเงินบำนาญให้กับเราเป็นงวด ๆ ไปจนถึงอายุไม่ต่ำกว่า 85 ปี
2.
แต่ไม่ได้หมายความว่าพอเห็นว่าเป็น “ ประกันชีวิตแบบบำนาญ” แล้วจะสามารถนำมาลดหย่อนเพิ่มเติมได้เหมือนกันหมด เพราะต้องให้ทางบริษัทประกันระบุในใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันไว้อย่างชัดเจนว่าเป็น “ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามกฎกระทรวงการคลัง ”
         

กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ :

         
1.
มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่เริ่มทำประกันชีวิตจนถึงอายุสุดท้ายที่รับบำนาญ
2.
เริ่มจ่ายเงินบำนาญตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป จนถึงอายุไม่ต่ำกว่า 85 ปี
3.
ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใดก่อนรับเงินบำนาญ ยกเว้นผลประโยชน์กรณีการเสียชีวิต
4.
กรณีเสียชีวิตในช่วงก่อนรับเงินบำนาญ ผลประโยชน์ที่ได้รับอาจจะมากกว่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปเล็กน้อย แต่ กรณีเสียชีวิตในช่วงรับเงินบำนาญผลประโยชน์ที่ได้รับ จะไม่เกินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระมาทั้งหมดหักด้วยผลประโยชน์เงินบำนาญที่ได้รับไปแล้วทั้งหมด
5.
ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์ใด ๆ ในวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยหรือวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยปี สุดท้ายก่อนรับเงินบำนาญ
6.
การจ่ายเงินบำนาญต้องจ่ายเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ เช่น รายปีหรือรายเดือน
7.
ต้องมีวงเล็บไว้ด้วยว่าเป็นกรมธรรม์ “ บำนาญแบบลดหย่อนได้ ”
         

เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องมาคำนวณกันอีกว่าระหว่างกรมธรรม์ประกันชีวิตเดิมและการลงทุนในกองทุน RMF กับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ จะจัดสรรปันส่วนกันอย่างไรนั้นดูตัวอย่าง ดังนี้ :

         
ก.

กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีเงินได้พึงประเมิน 1.0 ล้านบาท สามารถใช้สิทธิได้ดังนี้

         
 
กรณีที่ 1
   
 

ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต (ไม่รวมแบบบำนาญที่หักภาษีได้) ที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้ 1.0 แสนบาทแล้ว กรณีนี้ผู้เอาประกันภัยจะสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญและใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ใหม่ได้อีก 1.5 แสนบาท ทั้งนี้สามารถซื้อกองทุนอื่นได้อีกไม่เกิน 3.5 แสนบาท

         
 
กรณีที่ 2
 
ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต ( ไม่รวมแบบบำนาญที่หักภาษีได้ ) ที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้ 5.0 หมื่นบาทแล้ว กรณีนี้ผู้เอาประกันภัยจะสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 2.0 แสนบาท โดยใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้อีก 5.0 หมื่นบาท และใช้สิทธิตามเกณฑ์ใหม่ได้อีกไม่เกิน 1.5 แสนบาท ทั้งนี้สามารถซื้อกองทุนอื่นได้อีกไม่เกิน 3.5 แสนบาท
   
 
กรณีที่ 3
 
ผู้เอาประกันภัยยังไม่เคยซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตใด ๆ ที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิม กรณีนี้ผู้เอาประกันภัยจะสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 2.5 แสนบาท โดยใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้ 1.0 แสนบาท และใช้สิทธิตามเกณฑ์ใหม่ได้อีกไม่เกิน 1.5 แสนบาท ทั้งนี้สามารถซื้อกองทุนอื่นได้อีกไม่เกิน 3.5 แสนบาท
   
ข.

กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีเงินได้พึงประเมิน 1.5 ล้านบาท สามารถใช้สิทธิได้ดังนี้

   
 
กรณีที่ 1
 

ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต ( ไม่รวมแบบบำนาญที่หักภาษีได้ ) ที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้ 1.0 แสนบาทแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญและใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ใหม่ได้อีกไม่เกิน 2.0 แสนบาท ทั้งนี้สามารถซื้อกองทุนอื่นได้อีกไม่เกิน 3.0 แสนบาท

   
 
กรณีที่ 2
 
ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต ( ไม่รวมแบบบำนาญที่หักภาษีได้ ) ที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้ 5.0 หมื่นบาทแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 2.5 แสนบาท โดยใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมได้อีก 5.0 หมื่นบาท และใช้สิทธิตามเกณฑ์ใหม่ได้อีกไม่เกิน 2.0 แสนบาท ทั้งนี้สามารถซื้อกองทุนอื่นได้อีกไม่เกิน 3.0 แสนบาท
   
 
กรณีที่ 3
 
ผู้เอาประกันภัยยังไม่เคยซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตใด ๆ ที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิม กรณีนี้ผู้เอาประกันภัยจะสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 3.0 แสนบาท โดยใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ที่เดิมได้ 1.0 แสนบาท และใช้สิทธิตามเกณฑ์ใหม่ได้อีกไม่เกิน 2.0 แสนบาท ทั้งนี้สามารถซื้อกองทุนอื่นได้อีกไม่เกิน 3.0 แสนบาท
   
  ทั้งนี้หากผู้เอาประกันภัยได้ซื้อกองทุนอื่นไว้แล้ว ซึ่งจำนวนเงินไม่เป็นไปตามสัดส่วนที่แสดงไว้ในตัวอย่างข้างต้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องปรับเบี้ยประกันภัยให้จำนวนเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกับกองทุนที่ถืออยู่แล้วต้องไม่เกิน 5.0 แสนบาท
   

ข้อควรทราบ :
กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2553 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ แบบ ภ.ง.ด. 91 ภายใน 30 มีนาคม 2554

   
       
         
 
 
 
 
                 
หน้าแรก   เกี่ยวกับเรา   บริการของเรา   กิจกรรม   ติดต่อเรา
ประวัติบริษัท ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ กิจกรรม Office ที่อยู่บริษัท
ประวัติประธานกรรมการ บริการจัดทำบัญชี     แผนที่สำนักงาน
คณะผู้บริหาร บริการตรวจสอบบัญชี        
บริษัทในเครือ บริการจดทะเบียนพาณิชย์      
ลูกค้าที่ใช้บริการ บริการประกันภัยทุกประเภท      
      บริการประเมินราคาทรัพย์สิน  
     
         
 
สำนักงานบัญช ในเครือบริษัท เอส.วี.พี. กรุ๊ป
Designed by nongnoy.net
Copyright @ 2015 All right reserved : ขอสงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด