designed by nongnoy.net
 
   
 
 
 
 
 
 
             
 
 
         
     
         
         

เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญ และการประหยัดภาษีจากการทำประกันภัยในแบบดังกล่าว จึงขอหยิบยกกรณีศึกษาดังต่อไปนี้ :

 

นางซื่อบื้อ อาจารย์หัวใส ด๊อกเตอร์ล้ำเลิศ และศาสตราจารย์เหนือชั้น 4 พี่น้องฝาแฝดในตระกูล “ รวยไม่เลิก ” มีเงินได้พึงประเมิน ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและสิทธิในการหักลดหย่อน “ เหมือนกันทุกอย่าง ” ดังนี้ :

         
1.
มีเงินได้พึงประเมินจากเงินเดือนและโบนัสทั้งปี
2,000,000.00
บาท
2.
มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทั้งปี
170,000.00
บาท
3.
มีสิทธิในการหักลดหย่อนดังนี้ :
- ผู้มีเงินได้
30,000.00
บาท
- คู่สมรส ( ไม่มีเงินได้ )
30,000.00
บาท
- บุตรยังไม่ศึกษา 1 คน
15,000.00
บาท
- บุตรกำลังศึกษา 1 คน
17,000.00
บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ
หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย
100,000.00
บาท
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
9,000.00
บาท
     

โดยมีสิทธิในการหักลดหย่อน “ เฉพาะส่วนที่แตกต่างกัน” ดังนี้

   
       
4.

อาจารย์หัวใส :

   
- เป็นผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบเก่า)
40,000.00
บาท
5.
ด๊อกเตอร์ล้ำเลิศ :
- เป็นผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบเก่า)
40,000.00
บาท
- เป็นผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบใหม่)
260,000.00
บาท
6.
ศาสตราจารย์เหนือชั้น
 
- เป็นผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบเก่า)
40,000.00
บาท
 
- เป็นผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบใหม่)
260,000.00
บาท
 
- ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF
300,000.00
บาท
 
- ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน LTF
300,000.00
บาท
       

ดูตารางเปรียบเทียบการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีที่ต้องชำระ (ชำระเกินรับเงินภาษีคืน ) สำหรับกรณีไม่ใช้สิทธิหักลดหย่อนจากเบี้ยประกันชีวิต (นางซื่อบื้อ) และกรณีใช้สิทธิหักลดหย่อนเฉพาะเบี้ยประกันชีวิตแบบเก่า (อาจารย์หัวใส) และกรณีใช้สิทธิลดหย่อนทั้งเบี้ยประกันชีวิตแบบเก่า และเบี้ยประกันชีวิตแบบใหม่ (ด๊อกเตอร์ล้ำเลิศ) อีกทั้งกรณีใช้สิทธิหักลดหย่อนทั้งเบี้ยประกันชีวิตแบบเก่า เบี้ยประกันชีวิตแบบใหม่ หน่วยลงทุนในกองทุน RMF และหน่วยลงทุนในกองทุน LTF (ศาสตราจารย์เหนือชั้น)

       
       
ข้อสังเกต :    
       
1.

ด๊อกเตอร์ล้ำเลิศและศาสตราจารย์เหนือชั้น ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบใหม่) ไว้ 260,000 บาท แล้วจัดสรรไปหักลดหย่อนกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบเก่า) ไป 60,000 บาท และนำมาหักลดหย่อนกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบใหม่) 200,000 บาท เพื่อมิให้เกินจากข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้หรือ 200,000 บาท

2.
ศาสตราจารย์เหนือชั้นแสดงความ “ เหนือชั้น ” ด้วยการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF 300 ,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกันกับกรมธรรม์ประกันชีวิต (แบบใหม่) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท และพ่วงท้ายด้วยการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน LTF อีก 300,000 บาท ทำให้รับเงินภาษีคืน 67,200 บาท ในขณะที่พวกพี่น้องอีก 3 คน ต้องชำระภาษีให้กับกรมสรรพากร
 

จะเห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตทั้ง 2 แบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนอกจะเป็นการออมเงิน และเป็นการประกันว่าเราจะมีรายได้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่เกษียณอายุแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และเท่าที่ทราบบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะนำกรมธรรม์ประกันชีวิต ไปทำพิธีสวดมนต์จึงทำให้ผู้ที่เอาประกันภัยปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ( โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน )

   
         
   
ข้อมูลโดย
ดร. วิไลลักษณ์ สกุลภักดี
         
 
 
 
 
                 
หน้าแรก   เกี่ยวกับเรา   บริการของเรา   กิจกรรม   ติดต่อเรา
ประวัติบริษัท ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ กิจกรรม Office ที่อยู่บริษัท
ประวัติประธานกรรมการ บริการจัดทำบัญชี     แผนที่สำนักงาน
คณะผู้บริหาร บริการตรวจสอบบัญชี        
บริษัทในเครือ บริการจดทะเบียนพาณิชย์      
ลูกค้าที่ใช้บริการ บริการประกันภัยทุกประเภท      
      บริการประเมินราคาทรัพย์สิน  
     
         
 
สำนักงานบัญช ในเครือบริษัท เอส.วี.พี. กรุ๊ป
Designed by nongnoy.net
Copyright @ 2015 All right reserved : ขอสงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด