บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
คำสั่งกรมสรรพากร
ประกาศกรมสรรพากร
 
 
     
  พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 269)
พ.ศ. 2536



ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2536
เป็นปีที่ 48 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าวัตถุดิบบางประเภทที่นำเข้ามาใช้ผลิตปุ๋ยให้แก่ผู้ประกอบการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 269) พ.ศ. 2536”
มาตรา 2  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
“มาตรา 3  ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้ากรดซัลฟิวริก กรดฟอสฟอริกแอมโมเนียชนิดที่ปราศจากน้ำ แคลเซียมฟอสเฟตธรรมชาติ อะลูมิเนียมแคลเซียมฟอสเฟต ธรรมชาติ และกำมะถันในรูปของเหลวหรือของแข็ง ทั้งนี้ เฉพาะที่ผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมนำมาใช้ผลิตหรือผสมเป็นปุ๋ยในกิจการของตนเอง”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 305) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ 9 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป)
มาตรา 4  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

         ชวน หลีกภัย
         นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตปุ๋ย มีการผลิตปุ๋ยเพื่อการเกษตรในประเทศในปริมาณที่เหมาะสม และมีการจำหน่ายปุ๋ยในราคาและคุณภาพที่เหมาะสม รวมทั้งให้มีการใช้ปุ๋ย เพื่อการเพิ่มผลผลิตอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการผลิต การจำหน่าย และการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบ หลักบางประเภทที่ใช้ผลิตปุ๋ย ให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้นำวัตถุดิบเข้ามาเอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

(ร.จ.เล่มที่ 110 ตอนที่ 207 วันที่ 9 ธันวาคม 2536)


NAVIGATOR:  ประมวลรัษฎากร > พระราชกฤษฎีกา > ฉบับที่ 269/2536