บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
ลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น
ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด 1 ทวิ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน
หมวด 3 ภาษีเงินได้
หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมวด 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
หมวด 5 ภาษีป้าย (ยกเลิก)
หมวด 6 อากรแสตมป์
หมวด 7 อากรมหรสพ (ยกเลิก)
ลักษณะ 3 ภาษีบำรุงท้องที่ (ยกเลิก)
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
คำสั่งกรมสรรพากร
ประกาศกรมสรรพากร
 
 
     
  ลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น
    มาตรา 1 กฎหมายนี้ให้เรียกว่า " ประมวลรัษฎากร "
 
    มาตรา 2 ในประมวลรัษฎากรนี้เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
    " รัฐมนตรี " หมายความว่า รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่รักษาการตามประมวลรัษฎากรนี้  
    " อธิบดี " หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.60/2539 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.102/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.120/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.127/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.132/2546)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.133/2546)
    " ผู้ว่าราชการจังหวัด " หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย
    " อำเภอ " หมายความว่า นายอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ หรือสมุห์บัญชีเขต
    " นายอำเภอ " หมายความรวมถึงหัวหน้าเขต และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอด้วย
    " ที่ว่าการอำเภอ " หมายความรวมถึงที่ว่าการเขต และที่ว่าการกิ่งอำเภอด้วย
    " องค์การของรัฐบาล " หมายความว่า องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และหมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย
    " ประเทศไทย " หรือ " ราชอาณาจักร " หมายความรวมถึงเขตไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิของประเทศไทย ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป และตามความตกลงกับต่างประเทศด้วย
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับ 9 พ.ย. 2520 เป็นต้นไป )
   
    มาตรา 3 บรรดารัษฎากรประเภทต่าง ๆ ซึ่งเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรนี้จะตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อการต่อไปนี้ก็ได้ คือ
    (1) ลดอัตราหรือยกเว้นเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ กิจการ หรือสภาพของท้องที่บางแห่งหรือทั่วไป

( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2510 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2514 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 79) พ.ศ. 2521 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 205) พ.ศ. 2532 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 250) พ.ศ. 2535 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 282) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 288) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 290) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 295) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 297) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 299) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 300) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 306) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 308) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 313) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 317) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 320) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 348) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 363) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 366) พ.ศ. 2543 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 369) พ.ศ. 2543 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 375) พ.ศ. 2543 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 378) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 380) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 384) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 388) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 390) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 394) พ.ศ. 2545 )

( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 409) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 410) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 411) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 412) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 413) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2546 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 415) พ.ศ. 2546 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 417) พ.ศ. 2546 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2546 )

    (2) ยกเว้นแก่บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อ องค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญา หรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 )
    (3) ยกเว้นแก่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล องค์การศาสนา หรือองค์การกุศลสาธารณะ
    การลดหรือยกเว้นตาม (1) (2) และ (3) นั้นจะตราพระราชกฤษฎีกายกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงก็ได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ. 2496 เป็นต้นไป )
.    มาตรา 3 ทวิ ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรต้องได้รับโทษจำคุก หรือไม่ควรถูกฟัองร้องให้มีอำนาจเปรียบเทียบ โดยกำหนดค่าปรับแต่สถานเดียวในความผิดต่อไปนี้ เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 13 คือ
    (1) ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ ซึ่งโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นอำนาจของอธิบดี ถ้าเกิดขึ้นในจังหวัดอื่นให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
    (2) ความผิดที่มีโทษปรับหรือโทษจำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ ซึ่งโทษจำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปีให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย อธิบดี อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
    ถ้าผู้ต้องหาใช้ค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจ เปรียบเทียบกำหนดแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มผู้ต้องหามิให้ถูกฟ้องร้องต่อไป ในกรณีแห่งความผิดนั้น
    ถ้าผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเห็นว่า ไม่ควรใช้อำนาจเปรียบเทียบ หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้วผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือยอมแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อไป และในกรณีนี้ ห้ามมิให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามกฏหมาย อื่นอีก
  ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค. 2525 เป็นต้นไป )
   
    มาตรา 3 ตรี บุคคลใดจะต้องเสียเงินเพิ่มภาษีอากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้ และบุคคลนั้นยินยอมและชำระเงินเพิ่มภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในกฎกระทรวงแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มบุคคลนั้นมิให้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีอากร
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ 25 เม.ย.2494 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512) )

    มาตรา 3 จัตวา
ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้บุคคลไปเสียภาษีอากร ณ ที่ว่าการอำเภอ รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ไปเสีย ณ สำนักงานแห่งอื่นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ การเสียภาษีอากรนั้นให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งหัวหน้าสำนักงานแห่งนั้นได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ 25 เม.ย.2494 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.7/2528 )

    มาตรา 3 เบญจ
เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ให้อธิบดีมีอำนาจเข้าไป หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปในสถานที่ หรือยานพาหนะใดเพื่อทำการตรวจค้น ยึด หรืออายัดบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับ หรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสียได้ทั่วราชอาณาจักร
    ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสรรพากรเขตมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคหนึ่ง สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดหรือเขตนั้น
    การทำการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบกิจการนั้น
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25 ) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค.2525 เป็นต้นไป )

    มาตรา
3บรรดาบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือ สันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสีย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ เจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้บุคคลใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบ จัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จภายในเวลาที่สมควรก็ได้
  ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )

    มาตรา
3 สัตต เพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร การตรวจสอบและรับรองบัญชีจะกระทำได้ก็แต่โดยบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
    บุคคลที่จะขอใบอนุญาตจากอธิบดีตามความในวรรคก่อน ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
    บุคคลใดได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว ถ้าฝ่าฝืนระเบียบที่อธิบดีกำหนด อธิบดีอาจพิจารณาสั่งถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
    บทบัญญัติแห่งมาตรานี้จะใช้บังคับในเขตจังหวัดใด ให้อธิบดีประกาศโดยอนุมัติรัฐมนตรี
    การประกาศ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร การอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรของผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 )
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.123/2545 )

    มาตรา
3 อัฏฐ กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการหรือแจ้งรายการต่าง ๆ ก็ดี กำหนดเวลาการอุทธรณ์ก็ดี หรือกำหนดเวลาการเสียภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ก็ดี ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทย หรือมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้ เมื่ออธิบดีพิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือให้เลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้
( ดูประกาศอธิบดีฯ เรื่องขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร )
( ดูประกาศอธิบดีฯ เรื่องขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.128/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545 )
    กำหนดเวลาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้เมื่อรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรจะขยาย หรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และการขยายระยะเวลาชำระภาษีสำหรับผู้ที่ต้องออกจากราชการหรือออกจากงานโดยไม่มีความผิด )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545 )
( ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และการนำส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต )

    มาตรา 3 นว
ผู้ใดรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกหรือขัดขวางเจ้าพนักงานผู้กระทำการ ตามหน้าที่ ตามความในมาตรา 3 เบญจ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )

    มาตรา 3 ทศ
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามความใน มาตรา 3 ฉ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป)

    มาตรา
3 เอกาทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้โดยอนุมัติรัฐมนตรี
    การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25 ) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค.2525 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 บังคับใช้ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
)
   

    มาตรา
3 ทวาทศ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับ 9 พ.ย. 2520 เป็นต้นไป )

    มาตรา
3 เตรส ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่ง ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามลักษณะ 2 หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ในการนี้ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 และมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ 31 ธ.ค. 2521 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.115/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.8/2528 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.20/2531 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.91/2542 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.114/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
   

    มาตรา
3 จตุทศ ในกรณีที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งก่อน ไม่ว่าการจ่ายเงินนั้นจะเกิดขึ้นจากคำสั่งหรือ คำบังคับของศาล หรือตามกฎหมาย หรือเหตุอื่นใดก็ตาม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย. 2526 เป็นต้นไป )

    มาตรา
4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประมวลรัษฎากรนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานอื่น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากับออกกฎกระทรวง
    (1) ให้ใช้หรือยกเลิกแสตมป์โดยกำหนดให้นำมาแลกเปลี่ยนกับแสตมป์ที่ใช้ได้ ภายในเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวัน
    (2) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรนี้
    กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
  ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 ใช้บังคับ 25 ต.ค. 2513 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 6) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 8) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 10) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 11) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 13) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 16) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 17) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 19) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 21) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 22) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 24) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 33) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 35) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 36) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 37) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 39) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 40) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 42) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 ( พ.ศ.2546 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 242 ( พ.ศ.2546 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 243 ( พ.ศ.2547 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 250 ( พ.ศ.2548 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 252 ( พ.ศ.2548 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 254 ( พ.ศ.2548 ) )
    มาตรา 4 ทวิ คนต่างด้าวผู้ใดจะเดินทางออกจากประเทศไทยต้องเสียภาษีอากรที่ค้างชำระ และหรือที่จะต้องชำระ แม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระ หรือจัดหาเงินประกันภาษีอากรให้เสร็จสิ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้ก่อนออกเดินทาง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป)

    มาตรา
4 ตรี ให้คนต่างด้าวซึ่งจะเดินทางออกจากประเทศไทยยื่นคำร้องตามแบบที่อธิบดีกำหนด เพื่อขอรับใบผ่านภาษีอากรภายในกำหนดเวลาไม่เกินสิบห้าวันก่อนออกเดินทาง ไม่ว่ามีภาษีอากรที่ต้องชำระหรือไม่
    การยื่นคำร้องตามความในวรรคก่อน ถ้าผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาหรือพักอยู่ในเขตจังหวัดพระนครหรือจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ถ้ามีภูมิลำเนาหรือพักอยู่ใน เขตจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
    คนต่างด้าวผู้ใดไม่ยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรตามความในวรรคก่อน หรือยื่นคำร้องแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบผ่านภาษีอากร เดินทางออกจากประเทศไทย หรือพยายามเดินทางออกจากประเทศ นอกจากจะมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้ ให้คนต่างด้าวผู้นั้นเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของเงินภาษีอากรที่จะต้องเสียทั้งสิ้นอีกด้วย เงินเพิ่มตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นค่าภาษีอากร
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16 ) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )

    มาตรา
4 จัตวา บทบัญญัติมาตรา 4 ทวิ และมาตรา 4 ตรี ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวผู้เดินทางผ่านประเทศไทย หรือเข้ามาและอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะรวมกันไม่เกินเก้าสิบวันในปีภาษีใด โดยไม่มีเงินได้พึงประเมิน หรือคนต่างด้าวที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร )

    มาตรา
4 เบญจ ให้ผู้รับคำร้องตามมาตรา 4 ตรี ตรวจสอบว่าผู้ยื่นคำร้องมีภาษีอากรที่จะต้องเสียตามมาตรา 4 ทวิ หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ออกใบผ่านภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่ผู้ยื่นคำร้อง
    ถ้าในการตรวจสอบตามความในวรรคก่อนปรากฏว่า ผู้ยื่นคำร้องมีเงินภาษีอากรที่ต้องเสียตามมาตรา 4 ทวิ และผู้ยื่นคำร้องได้นำเงินภาษีอากรมาชำระครบถ้วนแล้วก็ดี หรือไม่อาจชำระได้ทั้งหมดหรือได้ชำระแต่บางส่วน และผู้ยื่นคำร้องได้จัดหาผู้ค้ำประกันหรือหลักประกันที่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเห็นสมควรมาเป็นประกันเงินค่าภาษีอากรนั้นแล้วก็ดี ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายออกใบผ่านภาษีอากรให้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย.2502 เป็นต้นไป )

    มาตรา
4 ในกรณีที่ผู้รับคำร้องตามมาตรา 4 ตรี พิจารณาเห็นว่า ผู้ยื่นคำร้องมีเหตุผลสมควรจะต้องเดินทางออกจากประเทศไทยเป็นการรีบด่วนและชั่วคราว และผู้ยื่นคำร้องมีหลักประกัน หรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระ ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายออกใบผ่านภาษีอากรให้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )

    มาตรา
4 สัตต ภายใต้บังคับมาตรา 4 อัฏฐ ใบผ่านภาษีอากรให้มีอายุใช้ได้สิบห้าวันนับแต่วันออก ถ้ามีการขอต่ออายุใบผ่านภาษีอากรก่อนสิ้นอายุ อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต่ออายุให้อีกสิบห้าวันก็ได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )

    มาตรา
4 อัฏฐ คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าออกประเทศไทยเป็นปกติธุระเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ จะยื่นคำร้องต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี ขอให้ออกใบผ่านภาษีอากรให้ใช้เป็นประจำก็ได้ ถ้าผู้รับคำร้องพิจารณาเห็นว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีความจำเป็นดังที่ร้องขอและมีหลักประกัน หรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระ แล้วจะออกใบผ่านภาษีอากรให้ตามแบบที่อธิบดีกำหนดก็ได้ ใบผ่านภาษีอากรเช่นว่านี้ให้มีกำหนดเวลาใช้ได้ตามที่ระบุในใบผ่านภาษีอากรนั้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออก
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )

    มาตรา
4 นว คนต่างด้าวผู้ใดเดินทางออกจากประเทศไทยโดยไม่มีใบผ่านภาษีอากร ซึ่งต้องมีตามความในประมวลรัษฎากรนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
    คนต่างด้าวผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป )

    มาตรา 4 ทศ
ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
      ดอกเบี้ยที่ให้ตามวรรคหนึ่งมิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน และให้จ่ายจากเงินภาษีอากรที่จัดเก็บได้ตามประมวลรัษฎากรนี้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค. 2525 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.119/2545 )


NAVIGATOR:  ประมวลรัษฎากร > บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร > ลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น > มาตรา 1_4